วันศุกร์ที่ 4 มีนาคม พ.ศ. 2554

การผสมเทียม

การผสมเทียม (Artificial insemination) หมายถึง การทำให้เกิดการปฏิสนธิระหว่างไข่กับอสุจิ ที่มนุษย์เป็นผู้ทำให้เกิดการปฏิสนธิ โดยนำน้ำเชื้ออสุจิจากสัตว์ตัวผู้ที่เป็นพ่อพันธุ์ไปผสมกับไข่ของสัตว์ตัวเมียที่เป็นแม่พันธุ์ โดยที่สัตว์ไม่ต้องมีการผสมพันธุ์กันเองตามธรรมชาติ การผสมเทียมสามารถทำได้กับสัตว์ทั้งที่มีการปฏิสนธิภายนอกร่างกายของสัตว์ เช่น การผสมเทียมปลา และการปฏิสนธิภายในร่างกายของสัตว์ เช่น โค กระบือ สุกร แพะ แกะ
link titlelink titlelink title==หลักการผสมเทียม ==
         1.การรีดเก็บน้ำเชื้อ ทำได้โดยใช้เครื่องมือช่วยกระตุ้นให้ตัวผู้หลั่งน้ำเชื้อออกมา โดยต้องพิจารณาถึง อายุ ความสมบูรณ์ของตัวผู้ ระยะเวลาที่เหมาะสม และวิธีการซึ่งขึ้นอยู่กับชนิดของสัตว์ เช่น ไก่ สุกร โค และต้องฝึกให้พ่อพันธุ์เชื่องต่อการรีดน้ำเชื้อด้วยเช่นกัน
         2.การตรวจคุณภาพน้ำเชื้อ เพื่อตรวจหาปริมาณของตัวอสุจิ และการเคลื่อนไหวของตัวอสุจิด้วยกล้องจุลทรรศน์ เพื่อดูความแข็งแรง อัตราตัวเป็นและตัวตาย
         3.การละลายน้ำเชื้อ เป็นการเติมน้ำยาเลี้ยงเชื้อลงในน้ำเชื้อ เพื่อเพิ่มปริมาณน้ำเชื้อให้เพียงพอ ในการแบ่งฉีดให้กับตัวเมียหลาย ๆ ตัว น้ำยาเลียงเชื้อที่เติม เช่น ไข่แดง Sodium citrate ยาปฏิชีวนะ
         4.การเก็บรักษาน้ำเชื้อ มี 2 แบบคือ น้ำเชื้อสด หมายถึงน้ำเชื้อที่ละลายแล้ว และเก็บไว้ที่อุณหภูมิ 4-5 องศาเซลเซียส จะอยู่ได้นานเป็นเดือน แต่ถ้าเก็บที่ อุณหภูมิ 15-20 องศาเซลเซียส จะเก็บได้นานประมาณ 4 วัน อีกชนิดคือ ส่วนน้ำเชื้อแช่แข็ง หมายถึงน้ำเชื้อที่นำไปทำให้เย็นจนแข็ง แล้วนำไปเก็บไว้ในไนโตรเจนเหลวที่อุณหภูมิ -196 องศาเซลเซียส สามารถ เก็บได้นานเป็นปี
         5.การฉีดน้ำเชื้อ สัตว์ตัวเมียที่ได้รับการคัดเลือกให้เป็นแม่พันธุ์ ที่จะได้รับการฉีดน้ำเชื้อ จะต้องอยู่ในวัยที่ผสมพันธุ์ได้ การฉีดน้ำเชื้อ ต้องฉีดในระยะที่ตัวเมียเป็นสัด ซึ่งเป็นระยะไข่สุก สังเกตได้โดย สัตว์จะเบื่ออาหาร กระวนกระวาย ร้องบ่อย มีน้ำเมือกไหลที่อวัยวะสืบพันธุ์ และไล่ขี่ตัวอื่น หรือยอมให้ตัวอื่นขึ้นทับ

สารบัญ

[ซ่อนสารบัญ]

[แก้ไข] การขยายพันธุ์สัตว์

        ในปัจจุบันประชากรโลกได้เพิ่มขึ้นเป็นจำนวนมากดังนั้นความต้องการสัตว์เป็นอาหารและเป็นสินค้าของมนุษย์มีเพิ่มมากขึ้น มนุษย์จึงคิดค้นหาวิธีการต่างๆ ที่จะช่วยในการขยายพันธุ์สัตว์ให้มีปริมาณมากเพียงพอ รวมทั้งมีคุณภาพตามความต้องการ
        ปัจจุบันนักวิทยาศาสตร์ได้นำวิธีการทางเทคโนโลยีสมัยใหม่มาใช้ในการขยายพันธุ์เพื่อให้ได้ปริมาณของสัตว์เพิ่มมากขึ้นแทนที่จะให้สัตว์ผสมพันธุ์กันเองตามธรรมชาติ
        โดยเทคโนโลยี สมัยใหม่ที่ให้ความสะดวกและได้ผลดี รวมทั้งเป็นที่นิยมใช้กันอย่างแพร่หลายในขณะนี้ได้แก่ การผสมเทียมและการถ่ายฝากตัวอ่อน ส่วน การทำโคลนนิ่ง เป็นเทคนิคขยายพันธุ์ แบบใหม่ที่เพิ่งคิดค้นได้สำเร็จ

[แก้ไข] การผสมเทียมสัตว์ที่มีการปฏิสนธิภายในร่างกาย

ภาพ:Pas2.jpg
        สัตว์ที่มีการปฏิสนธิในร่างกายของสัตว์ ที่นิยมการผสมเทียม ได้แก่ โค กระบือ สุกร แพะ แกะ มีขั้นตอนปฏิบัติดังนี้
        1. การรีดน้ำเชื้อ เป็นการรีดน้ำเชื้ออสุจิจากสัตว์พ่อพันธุ์ที่ดี มีความแข็งแรงสมบูรณ์ และมีอายุพอเหมาะ โดยใช้เครื่องมือสำหรับรีดน้ำเชื้อโดยเฉพาะ
        2. การตรวจคุณภาพน้ำเชื้อ เป็นการตรวจสอบความสมบูรณ์ของน้ำเชื้อที่รีดได้ว่ามีปริมาณของตัวอสุจิมากพอแก่การผสมเทียม และมีความแข็งแรงเพียงพอแก่การนำมาใช้หรือไม่
        3. การเก็บรักษาน้ำเชื้อ เป็นการเก็บรักษาน้ำเชื้อก่อนที่จะนำไปใช้ โดยจะมีการเติมอาหารลงในน้ำเชื้อเพื่อให้ตัวอสุจิได้ใช้เป็นอาหารตลอดช่วงที่เก็บรักษาและเป็นการช่วยให้ปริมาณน้ำเชื้อมีมากขึ้น จะได้นำไปฉีดให้ตัวเมียได้หลาย ๆ ตัว หลังจากนั้นจะนำน้ำเชื้อที่เติมอาหารแล้วไปเก็บไว้ในอุณหภูมิต่ำ ซึ่งแบ่งออกเป็น 2 แบบ คือ
  • 1) การเก็บน้ำเชื้อสด เป็นการเก็บน้ำเชื้อในสภาพของเหลวในที่อุณหภูมิ 4 - 5 องศาเซลเซียส จะช่วยให้น้ำน้ำเชื้อมีอายุอยู่ได้ประมาณหนึ่งเดือน แต่หากเก็บรักษาไว้ที่ อุณหภูมิ 15- 20 องศาเซียส จะเก็บรักษาได้ประมาณ 4 - 5 วัน เท่านั้น
  • 2.) การเก็บรักษาน้ำเชื้อแบบแช่แข็ง เป็นการเก็บน้ำเชื้อโดยแช่ไว้ในไนโตรเจนเหลวที่อุณหภูมิ ต่ำ - 196 องศาเซียส จะทำให้น้ำเชื้ออยู่ในสภาพของแข็ง วิธีการเก็บแบบนี้จะช่วยให้สามารถเก็บไว้นานเป็นปี
        4. การฉีดเชื้อให้แม่พันธุ์ เมื่อจะผสมเทียมจะนำเชื้อสด หรือน้ำเชื้อแช่แข็งออกมาปรับสภาพให้อยู่ในสภาพปกติ แล้วใช้กระบอกฉีดยาดูดน้ำเชื้อที่เตรียมไว้ฉีดเข้าไปในมดลูกของแม่พันธุ์ เพื่อให้เกิดการปฏิสนธิ และตั้งท้อง

[แก้ไข] การผสมเทียมสัตว์ที่มีการปฏิสนธิภายนอกร่างกาย

ภาพ:Pas3.jpg

[แก้ไข] การถ่ายฝากตัวอ่อน

ภาพ:Pas4.jpg
        การถ่ายฝากตัวอ่อน เป็นวิธีการขยายพันธุ์แบบใหม่วิธีหนึ่ง โดยมีหลักการสำคัญ คือ การนำตัวอ่อนที่เกิดจากการปฏิสนธิระหว่างพ่อพันธุ์และแม่พันธุ์ออกมาจากมดลูกของแม่พันธุ์ แล้วนำไปฝากใส่ใว้ในมดลูกของตัวเมียตัวอื่นที่เตรียมไว้เพื่อให้ตั้งท้องแทนแม่พันธุ์ ซึ่งทำให้สามารถใช้ประโยชน์จากแม่พันธุ์ได้อย่างคุ้มต่า เพราะแม่พันธุ์มีหน้าที่เพียงผลิตตัวอ่อน โดยไม่ต้องตั้งท้อง ซึ่งวิธีการถ่ายฝากตัวอ่อนนี้จะทำได้แต่เฉพาะสัตว์เลี้ยงลูกด้วยน้ำนมที่ออกลูกเป็นตัว และออกลูกครั้งละ 1 ตัว และใช้เวลาตั้งท้องนาน

[แก้ไข] วิธีการและขั้นตอนการฝากตัวอ่อน

        การถ่ายฝากตัวอ่อน จะข่วยทำให้ได้ตัวอ่อนจำนวนมากขึ้น ในการผสมพันธุ์แต่ละครั้ง ซึ่งมีวิธีการและขั้นตอนสำคัญดังนี้
        1. เลือกแม่พันธุ์ที่ดี แล้ว กระตุ้นให้สร้างไข่และตกไข่ครั้งละหลายๆ ฟองด้วยการฉีดฮอร์โมน
        2. เตรียมตัวเมียที่จะรับฝากตัวอ่อน โดยใช้ฮอร์โมนฉีดกระตุ้นให้มีความพร้อมที่จะตั้งท้อง
        3. ทำการผสมเทียมโดยฉีดน้ำเชื้อของตัวผู้ที่เป็นพ่อพันธุ์เข้าไปในมดลูกของแม่พันธุ์ในช่วงไข่ตกในข้อ 1 หรือปล่อยให้ตัวผู้หรือพ่อพันธุ์ ผสมพันธุ์เองตามธรรมชาติ ทำให้ไข่หลายฟองได้รับการปฏิสนธิแล้วเจริญกลายเป็นเป็นตัวอ่อนอยู่ในมดลูกหลายตัวพร้อมกัน
        4. ใช้เครื่องมือดูดเอาตัวอ่อน ออกจากมดลูกของแม่พันธุ์มาตรวจสอบและคัดเลือกเอาเฉพาะตัวอ่อนที่สมบูรณ์ดีเท่านั้น โดยต้องใช้ตัวเมียเท่ากับจำนวนของตัวอ่อนที่จะถ่ายฝาก
        5. นำตัวอ่อนที่ผ่านการตรวจสอบ และคัดเลือก แล้วนำไปใส่ฝากไว้ในมดลูกของตัวเมียที่เป็นตัวรับฝากตัวอ่อนที่ได้เตรียมไว้ โดยต้องใช้ตัวเมียเท่ากับจำนวนของตัวอ่อนที่จะถ่ายฝาก

[แก้ไข] ข้อดีของการถ่ายฝากตัวอ่อน

        หลังจากการถ่ายฝากตัวอ่อนเรียบร้อยแล้ว ตัวอ่อนจะเจริญเติบโตอยู่ในมดลูกจนสมบูรณ์ดี จึงคลอดออกมาพร้อม ๆ กัน การถ่ายฝากตัวอ่อน มีข้อดี ดังนี้
        1. ทำให้ได้ลูกจากพ่อพันธุ์และแม่พันธุ์คู่เดียวจำนวนมากในการผสมพันธุ์กันเพียงครั้งเดียว
        2. ช่วยประหยัดเวลาและค่าใช้จ่ายในการผลิตสัตว์ได้เป็นอย่างดี
        3. สามารถเก็บรักษาตัวอ่อนไว้ได้นานโดยการแช่แข็งซึ่งสามารถที่จะนำมาใช้ถ่ายฝากให้กับตัวเมียอื่น ๆ ได้ทุกเวลาตามที่ต้องการ
        4. ทำให้ได้สัตว์ที่มีลักษณะดีตามความต้องการในปริมาณมาก

[แก้ไข] การผสมเทียมวัว

ภาพ:Pas6.jpg
        โคตัวเมีย ที่แสดงอาการเป็นสัดดังกล่าว ควรจะได้รับการผสมเทียมในระยะเวลาช่วงกลางของการเป็นสัด หรือใกล้ระยะที่จะหมดการเป็นสัด (อาจจะหมดการเป็นสัดไปแล้วประมาณ 6 ชั่วโมงก็ได้ หรือเมื่อโคเพศเมียตัวนั้นยืนนิ่งให้ตัวอื่นขึ้นขี่ ซึ่งใช้เป็นหลักในการผสมพันธุ์) โดยทั่ว ๆ ไปโคเพศเมียจะมีระยะเป็นสัดประมาณ 18 ช.ม. แล้วต่อมาอีก 14 ช.ม. จึงจะมีไข่ตกเพื่อรอรับการผสมพันธุ์กับน้ำเชื้อพ่อโค จึงเห็นสมควรที่ต้องเลือกเวลาที่เหมาะสม ในการดำเนินการเรื่องของรับบริการผสมเทียมดังมีหลักการที่จะใช้ในการปฏิบัติงานผสมเทียมคือ
        1. เมื่อโคเพศเมียตัวใดแสดงอาการเป็นสัดในตอนรุ่งเช้าของวันใดวันหนึ่ง ควรที่จะได้รับการผสมเทียมในวันเวลาเดียวกัน (ก่อน 16.30 น.) ฉะนั้นพอรุ่งเช้าของแต่ละวันเจ้าของสัตว์ควรที่จะได้ไปแจ้งและบอกเวลา (ประมาณ) ที่ท่านได้เห็นสัตว์ของท่านแสดงอาการเป็นสัด
        2. ถ้าโคเพศเมียตัวใดแสดงอาการเป็นสัดในตอนบ่ายของวันใดวันหนึ่ง ควรที่จะได้รับการผสมเทียมตอนเช้าหรือก่อนเที่ยงของวันรุ่งขึ้น ฉะนั้นเจ้าของสัตว์เมื่อพบว่าสัตว์แสดงอาการเป็นสัดในตอนบ่ายหรือตอนเย็น ท่านควรจะไปแจ้งและบอกเวลาของการเป็นสัด (ประมาณ) ในรุ่งเช้าของวันต่อไปก็ได้
        ถ้าท่านได้ศึกษาและรู้จักสังเกตการแสดงอาการเป็นสัด ว่าอาการเป็นอย่างไรและหาระยะเวลาที่จะผสมเทียมให้พอเหมาะแล้ว จะเป็นการช่วยแก้ปัญหาเรื่องการผสมเทียมติดยากหรือผสมไม่ค่อยติดในโคเพศเมียของท่านได้ทางหนึ่ง และจะทำให้เป็นประโยชน์ในด้านการเพิ่มจำนวนและปริมาณน้ำนมในกิจการโคนมของท่านยิ่งขึ้น จึงเห็นสมควรที่จะเรียกช่วงเวลาอันสำคัญนี้ว่า "นาทีทองในโคนมตัวเมีย"

[แก้ไข] จะรู้ได้อย่างไรว่าโคตั้งท้องหรือไม่

        เมื่อโคนาง ได้รับการผสมไปแล้วประมาณ 21 วันหากโคไม่กลับมาแสดงอาการเป็นสัดอีกก็อาจคาดได้ว่าผสมติดหรือโคตัวนั้น เริ่มตั้งท้องแล้ว เพื่อให้รู้แน่ชัดยิ่งขึ้นภายหลังจากการผสมโคนางแล้ว 50 วันขึ้นไปอาจติดต่อสัตวแพทย์หรือบุคคลผู้มีความ ชำนาญในการตรวจท้องแม่โค (โดยวิธีล้วงเข้าไปคลำลูกโคทางทวารของแม่โค) มาทำการตรวจท้องแม่โคก็จะทราบได้แน่ชัดยิ่งขึ้น
        ข้อสังเกต ในกรณีโคสาว จะสังเกตได้จากการเจริญเติบโตที่เร็วขึ้น กินจุขึ้น ความจุของลำตัวโดยเฉพาะส่วนท้องซี่โครงจะกางออกกว้าง ขึ้น ขนเป็นมัน และไม่เป็นสัดอีก

[แก้ไข] การคลอดลูก

        โดยทั่วไปแม่โคจะตั้งท้องประมาณ 283 วัน หรือประมาณ 9 เดือนเศษ ในช่วงนี้แม่โคจะได้การเอาใจใส่ดูแลเรื่องความเป็นอยู่และอาหารเป็นพิเศษ เพราะลูกในท้องเจริญขึ้นเรื่อย ๆ และเป็นไปอย่างรวดเร็ว ในระยะก่อนคลอดประมาณ 45 - 80 วัน ควรเพิ่มอาหารผสมให้แก่แม่โคท้อง เพื่อแม่โคจะได้นำไปเสริมสร้างร่างกายส่วนที่สึกหรอ และนำไปเลี้ยงลูก หรือนำไปสร้างความเจริญเติบโตสำหรับอวัยวะบางอย่างที่ยังเจริญเติบโตไม่เต็มที่ เพื่อให้เกิดความสมบูรณ์มากที่สุดและเพื่อไม่ให้แม่โคซูบผอม สำหรับแม่โคที่กำลังให้นม เมื่อตั้งท้องลูกตัวต่อไปควรจะหยุดรีดนมก่อนคลอดประมาณ 45 - 60 วัน สำหรับแม่โคท้องแรกหรือท้องสาวหรือแม่โคที่ยังเจริญเติบโตไม่เต็มที่ (อายุไม่ถึง 5 ปี) แม้จะให้ลูกมาแล้ว 1 หรือ 2 ตัวก็ตาม ก่อนคลอดลูกตัวต่อไปควรจะหยุดพักการรีดนมเร็วกว่าแม่โคที่โตเต็มที่แล้ว อย่างน้อยก่อนคลอดประมาณ 45 - 60 วัน เพื่อให้แม่โคได้มีเวลาเตรียมตัวได้พักผ่อนร่างกายและอวัยวะต่าง ๆ บ้าง มิฉะนั้นแม่โคอาจจะได้รับผลกระทบกระเทือน นั่นหมายถึงผลเสียหายที่จะตามมาภายหลังได้ เช่น ร่างกายจะชะงักการเติบโตเพราะอาหารไม่พอ ร่างกายไม่สมบูรณ์ เมื่อคลอดลูกออกมาลูกโคอ่อนแอ มีช่วงระยะการให้นมในปีต่อไปสั้นลง ผสมติดยาก ทิ้งช่วงการเป็นสัดนาน และอื่น ๆ เป็นต้น

[แก้ไข] อาการที่แม่โคแสดงออกเมื่อใกล้คลอด

        เราอาจจะสังเกตอาการต่างๆได้ดังนี้
        1. เต้านมขยายใหญ่ขึ้น
        2. อวัยวะเพศขยายตัวขึ้น ยิ่งใกล้วันคลอดเข้ามาสังเกตเห็นมีน้ำเมือกไหลออกมาจากช่องคลอด
        3. กระดูกเชิงกรานขยายตัวออกกว้างขึ้น โคนหางตรงกระดูกก้นกบจะบุ๋มลึกลงทั้งสองข้าง
        4. ช่องท้องตรงสวาปจะลึกหย่อนลง
        5. ยกหางขึ้น-ลงเล็กน้อยเป็นครั้งคราว
        6. ถ้าเป็นโคที่ปล่อยรวมฝูงจะพยายามแยกตัวออกจากฝูง
        7. แม่โคที่ถูกขังจะไม่สนใจในการกินหญ้า อาหาร ยืนกระสับกระส่าย ขกขาหลังแตะอยู่เรื่อย ๆ มีการเบ่งคลอดตลอดเวลา

[แก้ไข] จะรู้ได้อย่างไรลูกโคคลอดปกติหรือไม่

ภาพ:Pas7.jpg
        ลักษณะการคลอดลูกในท่าปกติของแม่โค คือ ลูกโคจะเหยียดขาหน้าตรงออกมาพร้อมกันทั้งสอง (ส่วนหัวแนบชิดกับเข่า) จะเห็น เป็น 3 จุด คือ 2 กีบข้างหน้า และจมูก ถ้าหากมีลักษณะอื่น ๆ ผิดไปจากนี้ให้ถือเป็นการคลอดที่ผิดปกติ อาทิเช่น หัวพับหรือเอาด้าน หลังออกมาก่อนส่วนอื่น หรือกรณีที่ลูกโคมีขนาดใหญ่จนไม่สามารถผ่านช่องคลอดออกมาได้ หรือกรณีอื่น ๆ เช่นนี้ควรรีบติดต่อสัตวแพทย์มาช่วยทำการคลอด และหากลูกโคคลอดออกมาแล้วรกยังไม่ออกตามมาถ้าเกิน 12 ชั่วโมง ควรรีบตามสัตวแพทย์มาช่วยแก้ไข เพราะถือว่ามีความผิดปกติบางอย่างเกิดขึ้นกับแม่โค ซึ่งต้องรีบทำการรักษา หลังจากลูกโคคลอดออกมาแล้วควรรีบเช็ดทำความสะอาดตัวลูกโคให้แห้งโดยเร็ว โดยเฉพาะเมือกบริเวณจมูกปากและลำตัวพร้อมกับทำการตัดสายสะดือให้ห่างจากตัวโคประมาณ 1 นิ้วแล้วทาด้วยทิงเจอร์ไอโอดีน

[แก้ไข] ประโยชน์ของการผสมเทียมวัว

        1. ทำให้ประหยัดพ่อพันธุ์เมื่อรีดเก็บน้ำเชื้อจากสัตว์พ่อพันธุ์ได้แต่ละครั้งสามารถนำมาละลายน้ำเชื้อแล้วแบ่งใช้ผสมกับสัตว์ตัวเมียได้จำ นวนมาก
        2. สามารถผสมพันธุ์สัตว์ที่มีขนาดใหญ่หรือเล็กต่างกันได้ โดยไม่มีอันตรายจากการขึ้นทับของพ่อพันธุ์
        3. ไม่ทำให้สิ้นเปลืองค่าใช้จ่ายในการเลี้ยงพ่อพันธุ์
        4. ตัดปัญหาในเรื่องขนส่งโคไปผสมเพราะสามารถนำน้ำเชื้อไปผสมได้ไกล ๆ

[แก้ไข] การผสมเทียมสุกร

ภาพ:Pas8.jpg
        การเลือกพ่อสุกรมารีดเชื้อ
        1. ต้องตรงตามสายพันธุ์ที่ต้องการ
        2. พ่อพันธุ์ต้องมีอายุมากกว่า 9 เดือน หรือมีน้ำหนักมากกว่า 110 กิโลกรัม
        3. ความถี่ในการรีดเชื้อของพ่อสุกร แตกต่างกัน         - อายุ 8 – 10 เดือน รีดได้ทุก 15 วัน
        - อายุ 10 – 12 เดือน รีดได้ทุก 10 วัน
        - อายุ 1ปีขึ้นไป รีดได้ทุก 7 วัน
        4. งดรีดเชื้อพ่อพันธุ์ที่มีอาการขาเจ็บ ให้ทำการรักษาก่อน

[แก้ไข] การนำน้ำเชื้อไปผสมในแม่พันธุ์

        1. แม่พันธุ์ต้องเป็นสัดแล้วเต็มที่ มีอาการยืนนิ่งเมื่อกดหลัง
        2. ทำความสะอาดแม่พันธุ์
        3. ใช้สำลีเช็ดทำความสะอาดอวัยวะเพศ
        4. ใช้น้ำเกลือล้างอวัยวะเพศอีกครั้ง
        5. ล้าง catheter ด้วยน้ำเกลือทั้งภายนอกและภายใน
        6. ค่อยๆสอด catheter เข้าไปในอวัยวะเพศเมีย โดยค่อยๆหมุนทวนเข็มนาฬิกาจนปลาย catheter ล็อคติดกับปากมดลูก (cervix) ทดลองดึงเบาๆจะไม่หลุดออก
        7. หยิบขวดน้ำเชื้อมา ตัดปลายหลอด แล้วใส่ปลายหลอดน้ำเชื้อในรู catheter
        8. ค่อยๆบีบน้ำเชื้อเข้าไปในมดลูกจนหมดหลอด (ประมาณ 5 นาที) รอสักครู่ค่อยๆดึง catheter ออกโดยหมุนตามเข็มนาฬิกา
        9. อุปกรณ์ที่ใช้แล้วนำไปล้างและนึ่งฆ่าเชื้อก่อนนำมาใช้ใหม่

[แก้ไข] ประโยชน์ของการผสมเทียมสุกร

        1. สามารถแพร่เลือดของพ่อพันธุ์ที่ดีเยี่ยมไปได้มากและกว้างขวางที่สุด
        2. การผสมเทียมเป็นวิธีป้องกันการแพร่กระจายเชื้อโรคต่างๆ อันอาจเกิดได้ง่ายจากการผสมพันธุ์โดยธรรมชาติ เช่น แท้งติดต่อ วัณโรค
        3. การผสมเทียมช่วยประหยัดค่าใช้จ่ายได้มาก โดยไม่ต้องเสียเงินซื้อพ่อพันธุ์สุกรซึ่งมีราคาแพงมากมาไว้ในฟาร์ม
        4. สามารถเก็บเชื้อพ่อพันธุ์ดีไว้ใช้ได้นานปี
        5. ช่วยขจัดปัญหาแตกต่างระหว่างขนาดของพ่อพันธุ์และแม่พันธุ์ ซึ่งอาจทำให้เกิดอันตรายได้
        6. สัตว์ตัวเมียที่มีอวัยวะสืบพันธุ์ผิดปกติ ไม่อาจผสมพันธุ์ได้ตามธรรมชาติ ก็อาจใช้วิธีการผสมเทียมติดได้
        7. เป็นประโยชน์ทางด้านการศึกษาค้นคว้าทางวิชาพันธุศาสตร์

[แก้ไข] ประวัติงานผสมเทียม

        การผสมเทียม ได้เริ่มกำเนิดขึ้นในโลก ประมาณปี พ.ศ.1865 โดยนักวิทยาศาสตร์ชาวอาหรับ ได้ทำการผสมเทียมม้าเป็นผลสำเร็จ โดยใช้น้ำเชื้อม้าที่ติดที่หนังหุ้มลึงค์ นำมาผสมให้กับแม่ม้าที่กำลังเป็นสัด ทำให้แม่ม้าตั้งท้องและคลอด
        ปี พ.ศ. 2220 ลีเวนฮุค(Leeuwenhoek) และแฮมม์(Hamm) ได้ค้นพบสิ่งมีชีวิตเล็ก ๆ เคลื่อนไหวอยู่ในน้ำเชื้อของสัตว์ตัวผู้ จึงได้ตั้งชื่อว่าเอนิมัลคู(Animalcule) ซึ่งหมายถึงสิ่งมีชีวิตเล็ก ๆ ในขณะนั้น ยังไม่ทราบว่าสิ่งมีชีวิตเล็ก ๆ ที่เคลื่อนไหวอยู่ในน้ำเชื้อของสัตว์ตัวผู้คืออะไร
        ปี พ.ศ. 2323 ได้มีนักวิทยาศาสตร์ชาวอิตาลี ชื่อลาซาโล (Lazarro Spallanzani) ได้เขียนผลงานวิจัยเกี่ยวกับผลสำเร็จของการผสมเทียม โดยได้ทำการผสมเทียมสุนัข ได้ลูกสุนัขที่เกิดจากการผสมเทียม 3 ตัว และได้ทดลองแยกน้ำเชื้อโดยการกรอง พบว่า ส่วนของน้ำเชื้อที่ผ่านเครื่องกรองออกมานั้น ถ้านำไปฉีดในแม่สัตว์ที่กำลังเป็นสัด ปรากฎว่าผสมไม่ติด แต่ถ้าเอาส่วนบนที่ติดกับเครื่องกรองไปผสม ปรากฎว่าผสมติดดีขึ้น และยังพบว่า ถ้าทำให้น้ำเชื้อเย็นลงระดับหนึ่ง จะสามารถเก็บรักษาน้ำเชื้อได้นานมากขึ้น
        ปี พ.ศ. 2457 ศาสตราจารย์ อะเมนเทีย(Prof.Amantea) ได้ทำการประดิษฐ์อวัยวะเพศเมียเทียมของสุนัข (Artificial vagina) เพื่อใช้ในการรีดเก็บน้ำเชื้อจากพ่อสุนัข จนเป็นจุดเริ่มต้นของการประดิษฐ์อวัยวะเพศเมียเทียมของสัตว์ชนิดอื่น ๆ
        ปี พ.ศ. 2479 นักวิทยาศาสตร์ของประเทศเดนมาร์ค เริ่มพัฒนาการผสมเทียมโคนม โดยใช้วิธีล้วงเข้าทางทวารหนัก (Rectovaginal insemination) โดยใช้มือล้วงเข้าทางทวารหนักจับคอมดลูก(Cervix) แล้วใช้ปืนฉีดน้ำเชื้อสอดผ่านช่องคลอด ผ่านคอมดลูก(Cervix) จนไปถึงตัวมดลูก(Body of Uterus) และฉีดน้ำเชื้อในมดลูกทำให้อัตราการผสมติดดีขึ้น
        หลังจากนั้น งานผสมเทียมได้มีการขยายมากขึ้น และกระจายไปสู่สัตว์ต่าง ๆ มีการผสมเทียมสุนัข ม้า โค แพะ แกะ จนสามารถให้กำเนิดลูกสัตว์ได้นับแสนตัว
        ปี พ.ศ. 2483 ได้มีการพัฒนาน้ำเชื้อ โดยฟิลลิป(Philips) และลาดี้(Lardy) ได้ทดลองนำไข่แดงผสมเป็นสารเจือจางน้ำเชื้อ พบว่าสามารถป้องกันอันตรายของตัวอสุจิในการลดอุณหภูมิของน้ำเชื้อ และทำให้สามารถเก็บน้ำเชื้อได้นาน 2-3 วัน
        ปี พ.ศ. 2484 ซาลิสเบอรี่(Salisbury) และคณะ ทดลองใช้โซเดียม ซิเตรท(Sodium citrate) และ ไข่แดง เป็นบัฟเฟอร์(buffer) ในสารเจือจางน้ำเชื้อ สามารถเพิ่มปริมาตรน้ำเชื้อ และแบ่งน้ำเชื้อไปผสมเทียมให้กับสัตว์ได้มากตัว
        ปี พ.ศ. 2489 อรัมคริส(Alamquist) และคณะ ได้ทดลองเติมยาปฏิชีวนะลงไปในสารเจือจางน้ำเชื้อ พบว่าสามารถป้องกันการเจริญเติบโตของเชื้อโรคในน้ำเชื้อได้ดี
        ปี พ.ศ. 2492 ซี โพล(C.Polge) และคณะ ชาวอังกฤษ ได้ทำการแช่แข็งน้ำเชื้อได้สำเร็จโดยเก็บน้ำเชื้อในน้ำแข็งแห้งอุณหภูมิ -79 องศาเซลเซียส
        ปี พ.ศ. 2495 พอล(Polge) และโรสัน(Rowson) ได้พบว่า การเติมกลีเซอรอล ลงในสารเจือจางน้ำเชื้อ จะช่วยให้อสุจิรอดชีวิตจากการเก็บที่อุณหภูมิ -196 องศาเซลเซียส ซึ่งเป็นจุดเริ่มในการผลิตน้ำเชื้อแช่แข็ง

[แก้ไข] บิดาแห่งการผสมเทียม

        การผสมเทียมในประเทศไทยเริ่มขึ้นโดย ในปี พ.ศ.2496 ศาสตราจารย์นีลล์ ลาเกอร์ลอฟ ชาวสวีเดน ซึ่งเป็นผู้เชี่ยวชาญจากเอฟ.เอ.โอ. ได้เดินทางมาสำรวจการเลี้ยงปศุสัตว์ในประเทศไทย โดยทุนของ เอฟ.เอ.โอ. จากนั้นได้เข้าเฝ้าพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวรัชกาลปัจจุบันเพื่อทูลเกล้าฯ ถวายโครงการผลิตโคนมลูกผสมด้วยวิธีการผสมเทียมในประเทศไทย ซึ่งวัตถุประสงค์ของ โครงการฯ คือ เพื่อให้ประเทศไทย สามารถผลิตน้ำนมได้เองภายในประเทศ ทดแทนการนำเข้านมและผลิตภัณฑ์นมจากต่างประเทศ (มูลค่านำเข้าขณะนั้นประมาณ 1,000 ล้านบาทเศษ)
        หลังจากนั้น ในปี พ.ศ. 2497 กรมปศุสัตว์ได้ส่งข้าราชการ 2 นายคือ นายสัตวแพทย์ทศพร สุทธิคำ และนายสัตวแพทย์อุทัย สาลิคุปต์ โดยทุน เอฟ.เอ.โอ. ไปศึกษาอบรมนานาชาติ ณ ราชวิทยาลัยสัตวแพทย์ กรุงสต๊อกโฮล์ม ประเทศสวีเดน ซึ่งองค์การอาหารและเกษตรแห่งสหประชาชาติร่วมกับรัฐบาลสวีเดน ได้เปิดหลักสูตรฝึกอบรมวิชาการสืบพันธุ์ รวมทั้งการผสมเทียมขึ้นเป็นรุ่นแรก
        หลังจากนายสัตวแพทย์ทศพร สุทธิคำ ศึกษาวิชาการสืบพันธุ์และผสมเทียม ณ ประเทศสวีเดนสำเร็จ และเดินทางกลับประเทศไทย ท่านได้เริ่มต้นด้วยการพยายามก่อตั้งสถานีผสมเทียม เพื่อให้บริการผสมเทียมแก่ปศุสัตว์ของเกษตรกร รวมถึงพยายามถ่ายทอดความรู้ด้านการผสมเทียมแก่นักวิชาการของกรมปศุสัตว์ ซึ่งในขณะนั้นยังไม่มีงบประมาณสนับสนุนการดำเนินงานดังกล่าว แต่ด้วยความมุ่งมั่นและตั้งใจจริง จนในปี พ.ศ. 2499 กรมปศุสัตว์จึง ได้เปิดสถานีผสมเทียมแห่งแรก ที่จังหวัดเชียงใหม่ และได้มอบหมายให้นายสัตวแพทย์ทศพร สุทธิคำ ปฏิบัติหน้าที่เป็นหัวหน้าสถานีผสมเทียมดังกล่าว
        จากที่การปฏิบัติงานผสมเทียมในระยะต้น ๆ ยังไม่มีงบประมาณสนับสนุน นายสัตวแพทย์ทศพร ใช้ความพยายามอย่างยิ่งยวด ที่จะประยุกต์ดัดแปลงเครื่องมือต่าง ๆ ที่มีอยู่ สำหรับปฏิบัติงานผสมเทียมโดยไม่ต้องซื้อหาจากต่างประเทศ จนสามารถประยุกต์อุปกรณ์ที่มี นำมาปฏิบัติงานผสมเทียมได้ และในวันที่ 9 กันยายน พ.ศ. 2499 นายสัตวแพทย์ทศพร ได้ผสมเทียมให้แม่โคตัวแรก ที่อำเภอเมือง จังหวัดเชียงใหม่ ซึ่งเป็นแม่โคของนายนคร ผดุงกิจ เป็นผลสำเร็จ แม่โคดังกล่าวได้ตั้งท้องและต่อมาคลอดลูกเป็นลูกโคเพศเมีย ดังนั้น ในวันที่ 9 กันยายน ของทุก ๆ ปี จึงถือเป็นวันกำเนิดงานผสมเทียมของประเทศไทย
        ในปี พ.ศ. 2501 สถานีผสมเทียมแห่งที่สองได้ตั้งขึ้นที่หน่วยผสมเทียมกลางในกรมปศุสัตว์ โดยมีนายสัตวแพทย์ประเสิรฐ ศงสะเสน เป็นหัวหน้าสถานีผสมเทียมกรุงเทพมหานคร ซึ่งนายสัตวแพทย์ประเสริฐ ได้พัฒนาและปรับปรุงพื้นฐานการเลี้ยงโคนมและการผสมเทียมในกรุงเทพมหานคร ตามรอยของนายสัตวแพทย์ทศพรที่สร้างไว้ จนประสบความสำเร็จอย่างดียิ่ง
        จากความมุ่งมั่นที่จะพัฒนางาน รวมทั้งการวางรากฐานที่ดีของนายสัตวแพทย์ทศพร ทำให้ปัจจุบันงานผสมเทียมของประเทศไทยได้เจริญก้าวหน้าทัดเทียมนานาอารยะประเทศ ดังนั้น นายสัตวแพทย์ทศพร สุทธิคำ จึงได้รับขนานนามว่า “ บิดาแห่งการผสมเทียมของประเทศไทย “

[แก้ไข] การทำโคลนนิง

ภาพ:Pas5.jpg
        การทำโคลนนิง เป็นเทคนิคการขยายพันธุ์ที่ทำให้เซลล์ไข่ ซึ่งผ่านกรรมวิธีบางอย่างสามารถเจริญเป็นตัวอ่อนได้โดยที่ไม่ต้องมีการปฏิสนธิตามธรรมชาติ โดยเซลล์ไข่ดังกล่าว จะถูกนำนิวเคลียสเก่าออก แล้วใส่นิวเคลียสใหม่ ซึ่งเป็นของเซลล์ต้นแบบจากสัตว์ตัวที่มีลักษณะตามต้องการเข้าไปแทน จากนั้นก็กระตุ้นให้เซลล์ไข่ที่มีนิวเคลียสใหม่แบ่งเซลล์ได้เป็นตัวอ่อน แล้วจึงนำตัวอ่อนที่ได้ไปฝากไว้ในมดลูกของแม่ฝากให้ตั้งท้อง และคลอดลูกแทนแม่ ซึ่งเป็นเจ้าของเซลล์ต้นแบบ
        สัตว์ที่เกิดจากเทคนิคการทำโคลนนิงซึ่งมีชื่อเสียงโด่งดังไปทั่วโลกก็คือ " แกะดอลลี " ซึ่งถือกำเนิดขึ้นเมื่อเดือน กุมภาพันธุ์ พ.ศ. 2540 ( ปัจจุบันเสียชีวิตไปแล้ว )โดยเซลล์ต้นแบบของแกะดอลลีได้มาจากเซลล์เต้านมของแกะหน้าขาว ขั้นตอนการทำโคลนนิงแกะดอลลีเป็นดังแผนภาพ
        นอกจากแกะดอลลีแล้วยังมีสัตว์โคลนนิงตัวอื่น ๆ ถือกำเนิดขึ้นมาเป็นระยะ ๆ เช่น * " อิง " โคโคลนนิงตัวแรกของไทย ซึ่งใช้เซลล์ใบหู ของโคพันธุ์แบรงกัสเพศเมียเป็นเซลล์ต้นแบบ
        * " ซีซี " แมวโคลนนิงตัวแรกของโลก ซึ่งข้เซลล์คิวมูลัส ( เซลล์ที่อยู่รอบ ๆ เซลล์ไข่ ) เป็นเซลล์ต้นแบบ


ขอขอบคุณข้อมูลจาก
อ้างอิงhttp://www.panyathai.or.th/wiki/index.php/%E0%B8%81%E0%B8%B2%E0%B8%A3%E0%B8%9C%E0%B8%AA%E0%B8%A1%E0%B9%80%E0%B8%97%E0%B8%B5%E0%B8%A2%E0%B8%A1